วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขนมไทยชื่อฝอยทอง

ขนมไทยชื่อฝอยทอง



ฝอยทองการนำขนมมาใช้ในงานมงคล มักนิยมเลือกในความหมายที่ดี อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เพราะเชื่อว่าทองเป็นสิ่งที่ดี นำมาซึ่งความร่ำรวย ความเจริญ เมื่อนำขนมที่มีคำว่าทองอยู่ด้วยไปมอบให้กับผู้ใดก็เท่ากับว่าได้มอบความร่ำรวยมั่งคั่งให้แก่ผู้นั้น ก่อให้เกิดสิ่งที่มีค่าประดุจเดียวกับทองคำ ในที่นี้จึงได้นำการทำขนมมงคลและมีชื่อเป็นทอง ได้แก่ ฝอยทอง มานำเสนอดังขั้นตอนต่อไปนี้ส่วนผสมไข่เป็ด 9 ฟอง
น้ำตาลทราย 5 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 3 ถ้วย
น้ำค้างไข่ 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีเตรียมน้ำค้างไข่1. น้ำค้างไข่ หรือน้ำต้อย คือน้ำหล่อเลี้ยงไข่แดง ช่วยประคองไม่ให้ไข่แดงติดเปลือก จะเกิดขึ้นเมื่อไข่ถูกเก็บไว้สัก 1-2 วัน ิวิธีแยกเอาน้ำค้างไข่ ทำได้โดยวางไข่ให้ส่วนแหลมอยู่ด้านล่างเพื่อให้น้ำค้างไข่ที่เกิดขึ้นไหลลงมาอยู่ส่วนแหลม เวลาตอกไข่ให้ตอกส่วนป้านของไข่โดยรอบ ค่อย ๆ เทไข่แดงและไข่ขาวออกจากเปลือก น้ำค้างไข่จะค้างอยู่ในเปลือก ให้เทแยกใส่ชามไว้ต่างหาก
2. หากทำฝอยทองโดยใช้ไข่แดงล้วน ๆ ไข่แดงจะข้นมาก และไม่สามารถไหลออกจากกรวยที่มีรูเล็ก ๆ ได้ น้ำค้างไข่จะช่วยลดความเข้มข้นของไข่แดงและยังช่วยให้ไหลลื่นจากกรวยได้ง่ายด้วย
3. วิธีที่ง่ายกว่านี้ในการแยกน้ำค้างไข่ก็คือ ตอกไข่ทั้งหมดใส่ชามไว้ นำไข่ทั้งชามไปเทกรองด้วยกระชอน ส่วนที่เป็นน้ำค้างไข่จะใสและไหลผ่านกระชอนลงมาเอง
วิธีทำ1. ต่อยไข่ใส่ชาม แยกไข่ขาวออกจากไข่แดง รีดเอาเยื่อออกให้หมด ผสมน้ำค้างไข่ตามอัตราส่วนไข่ 9 ฟองต่อน้ำค้างไข่ 3 ช้อนโต๊ะ
2. ใส่น้ำตาลและน้ำลอยดอกมะลิลงในกระทะตั้งไฟ คนให้น้ำตาลละลาย พอเดือดปรับไฟให้แรงเฉพาะตรงกลางกระทะ แล้วเริ่มโรยฝอยทองได้
3. ใส่ไข่แดงที่ผสมน้ำค้างไข่และคนเข้ากันดีแล้วลงในกรวยสำหรับโรยไข่ โรยลงในน้ำเชื่อมแบบวนรอบกระทะประมาณ 20 หรือ 30 รอบ แล้วแต่ว่าต้องการขนมแพเล็กหรือแพใหญ่ รอให้เดือด
4. ใช้ส้อมตักขนมขึ้นด้วยการตักจากริมกระทะด้านหนึ่งไปฝั่งตรงข้ามแล้วจึงยกขึ้น
5. ส่ายขนมในน้ำเชื่อมเพื่อให้เส้นฝอยทองเรียบแล้วพับทบให้สวยงามเรียงใส่จาน

วงจรไฟฟ้า i

วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยัง แหล่งกำเนิดเดิม

วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่

2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด สวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย

การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ

1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม

1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร

2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด

3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน

2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน

1. กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน

2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด

3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร

3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้ 2 ลักษณะดังนี้

3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง

3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม

เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติ ของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน

ความแตกต่างของวงจรเปิด-วงจรปิด

1. วงจรเปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ซึ่งเป็นผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่สามารถจ่ายพลังงานออกมาได้ สาเหตุของวงจรเปิดอาจเกิดจากสายหลุด สายขาด สายหลวม สวิตซ์ไม่ต่อวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น

2. วงจรปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร ทำให้โหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรนั้นๆ ทำงาน

ความหมายทางไฟฟ้า

1. แรงดันไฟฟ้า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า หมายถึงแรงที่ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานของวงจรไปได้ ใช้แทนด้วยตัว E มีหน่วยวัดเป็น โวลท์ (V)

2. กระแสไฟฟ้า หมายถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนอิสระจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง จะไหลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานของวงจร ใช้แทนด้วยตัว I มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A)

3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงตัวที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ซึ่ง อยู่ในรูปของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น แผ่นลวดความร้อนของเตารีด หม้อหุงข้าว หลอดไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ใช้แทนด้วยตัว R มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม (W )

4. กำลังงานไฟฟ้า หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัตราการทำงาน ได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัว P มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W)

5. พลังงานไฟฟ้า หมายถึงกำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต ใช้แทนด้วยตัว W

6. ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าช็อต หมายถึงการที่ไฟฟ้าไหลผ่านจากสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดใดๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด และมาสัมผัสกันจึงมีความร้อนสูง มีประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ถ้าบริเวณนั้นมีวัสดุไวไฟ

7. ไฟฟ้าดูด หมายถึงการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแส เวลาและเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

8. ไฟฟ้ารั่ว หมายถึงสายไฟฟ้าเส้นที่มีไฟจะไหลไปสู่ส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้าไม่มีสายดินก็จะทำให้ได้รับอันตรายแต่ถ้ามีสายดินก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่นั้นไหลลงดินแทน

9. ไฟฟ้าเกิน หมายถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้ เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

 

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์


ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 จารึกต่างๆที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487 – 1511)ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่ขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรกๆคงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 – 1544)ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
• พนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิม ซึ่งปรากฏหลักฐานตามศิลาจารึกที่ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ
• องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 34 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผุ้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤาษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย
• ปราสาทประธาน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตรสูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17 ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวะลึงค์เท่านั้น ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตาลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอา๕รสองหลัง ก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่าบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ก่อสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18
ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่นพระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) พระนารายณ์บรรทมสินธุ์อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระรามในเรื่องรามเกียรติ์ หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤาษีเป็นต้น
• กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ต่อมาได้ดำเนินการบูรณะตั้งปี พ.ศ. 2514 จนเสร็จสมบูรณ์ มีการพัฒนาและปรับปรุงดำเนินการเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2531
• ศาสนสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ อาจเป็นเพราะภูเขามีความสูงไม่มากนักและปากภูเขาไฟยังเป็นแอ่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย ประการสำคัญคือความเชื่อของคนพื้นถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นับถืออำนาจเหนือธรรมชาติ เชื่อว่าในธรรมชาติมีวิญญาณที่สามารถดลบันดาลให้เกิดสิ่งที่ดีและไม่ดีได้แก่มนุษย์ได้ จึงมีการนับถือภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีวิตในอดีต นอกจากนี้ การสร้างปราสาทบนภูเขายังพ้องกับคตความเชื่อในศาสนาฮินดูที่เปรียบปราสาทหินดั่งเทวาลัยของเทพเจ้าบนยอดเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชุมชนที่เขาพนมรุ้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เพราะนอกจากมีบารายหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งใช้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของปากปล่องภูเขาไฟเดิมเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่บนเขาอยู่แล้ว ที่เชิงเขามีบารายอีก 2 สระ คือสระน้ำหนองบัวบารายที่เชิงเขาพนมรุ้ง และสระน้ำโคกเมืองใกล้ปราสาทเมืองต่ำ สระน้ำบนพื้นราบเบื้องล่างภูพนมรุ้งนี้รับน้ำมาจากธารน้ำที่ไหลมาจากบนเขา นอกจากนี้ยังมีกุฏิฤาษีอยู่ 2 หลัง เป็นอโรคยาศาลที่รักษาพยาบาลของชุมชนอยู่เชิงเขาด้วย บริเวณที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้งอาจเคยเป็นที่ตั้งของศาสนพื้นถิ่นมาก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นเป็นปราสาท ที่มีความใหญ่โตงดงาม สมกับเป็น กมรเตงชคตวฺนํรุง ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปราสาทพนมรุ้ง อันหมายถึงองค์พระศิวะในศาสนาฮินดูที่กษัตริย์ขอมทรงนับถือ การเปลี่ยนสถานที่เคารพพื้นถิ่นให้เป็นปราสาทกินตามแบบคติขอม น่าจะเกี่ยวเนื่องกับ การเปลี่ยนลักษณะการเมืองการปกครอง ที่ผู้นำท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์ขอมโดยใช้ระบบความเชื่อมทางศาสนา วัฒนธรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
• จะเห็นได้ว่าปราสาทพนมรุ้งไม่เพียงแต่จะมีความโดดเด่นในด้านการวางผังที่สัมพันธ์กับภูมิประเทศแล้ว การตกแต่งด้วยภาพจำหลักหินที่ทับหลังและหน้าบันยังเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของปราสาทหินสีชมพูแห่งนี้ นอกจากงดงามด้วยฝีมือช่างแล้ว ยังเผยให้เราได้รู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่บอกถึงการเป็นเทวสถานของพระศิวะ ภาพพิธีกรรมต่างๆและภาพเรื่องราวจากมหากาพย์ของอินเดียคือรามายณะและมหาภารตะ เป็นต้น
• ปราสาทพนมรุ้งได้รับการบูรณะด้วยกรรมวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งเป็นการบูรณะโบราณสถานโดยทำสัญลักษณ์ของชิ้นส่วนต่างๆก่อนจะรื้ออกเพื่อเสริมรากฐาน และนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบขึ้นใหม่ตามเดิมซึ่งวิธีการเช่นนี้ใช้กับปราสาทหินหลายแห่ง เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน เป็นต้น
• ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เมษายน) ของทุกปีมีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี โดยในวันนี้พระอาทิตย์แรกแห่งอรุณจะสาดส่องทะลุผ่านประตูทั้ง 15 ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน
สถานที่ตั้ง
• ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาทำการ 06.00 น. – 18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
การเดินทาง
• จากอำเภอนางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงสามแยกโรงเรียนบ้านตะโกเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ตรงไปราว 6 กิโลเมตร ถึงบ้านตาเป๊ก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2221 อีก 6 กิโลเมตร
• รถประจำทาง
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ – เขาพนมรุ้ง ลงที่เชิงเขาแล้วต่อรถสองแถวขึ้นปราสาท
รถสายบุรีรัมย์ – นางรอง ลงสถานีนางรองแล้วต่อรถสองแถว

อ้างอิง
http://www.oceansmile.com/E/Buriram/Phanomrung.htm

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรักจังหวัดกาญจนบุรี

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก


ข้อมูลสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เนื่องจากการเกณฑ์ทหารสัมพันธมิตรมาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ ผ่านกาญจนบุรีไปเมียนมาร์ของกองทัพญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเหตุให้เชลยศึกพันธมิตรเสียชีวิตที่กาญจนบุรีเป็นจำนวนมาก สุสานแห่งนี้บรรจุกระดูกของทหารสัมพันธมิตร จำนวน 6,982 หลุม สุสานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟกาญจนบุรี ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร ในเขตบ้านดอนรัก ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภายในมีการตกแต่งสวยงาม ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมจำนวนมากเพราะเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกาญจนบุรีเพียง 300 เมตร เท่านั้น

แหล่งที่มา
www.google.com

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

แถบวิดีโอ

powered by

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง




สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เปรียบประดุจศูนย์บัญชาการการทำงานของร่างกาย การรู้จักบำรุงดูแลรักษาสมองให้ปฏิบัติงานได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเรากลับมีพฤติกรรมที่ทำร้ายสมองของตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมทำร้ายสมอง

1. ไม่ทานอาหารเช้า นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่ เป็นสา-เหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมล-ภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนแบบนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง
ทั้งสิบอย่างนี้คัดมาฝากกันจาก “ต้นคิด” จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสมองของตัวเอง.แหล่งที่มาจาก www.google.com

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

แถบวิดีโอ

powered by

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง




สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เปรียบประดุจศูนย์บัญชาการการทำงานของร่างกาย การรู้จักบำรุงดูแลรักษาสมองให้ปฏิบัติงานได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเรากลับมีพฤติกรรมที่ทำร้ายสมองของตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมทำร้ายสมอง

1. ไม่ทานอาหารเช้า นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่ เป็นสา-เหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมล-ภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนแบบนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง
ทั้งสิบอย่างนี้คัดมาฝากกันจาก “ต้นคิด” จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสมองของตัวเอง.แหล่งที่มาจาก www.google.com

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

แถบวิดีโอ

powered by

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง




สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เปรียบประดุจศูนย์บัญชาการการทำงานของร่างกาย การรู้จักบำรุงดูแลรักษาสมองให้ปฏิบัติงานได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเรากลับมีพฤติกรรมที่ทำร้ายสมองของตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมทำร้ายสมอง

1. ไม่ทานอาหารเช้า นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่ เป็นสา-เหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมล-ภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนแบบนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง
ทั้งสิบอย่างนี้คัดมาฝากกันจาก “ต้นคิด” จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสมองของตัวเอง.แหล่งที่มาจาก www.google.com

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

แถบวิดีโอ

powered by

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง




สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เปรียบประดุจศูนย์บัญชาการการทำงานของร่างกาย การรู้จักบำรุงดูแลรักษาสมองให้ปฏิบัติงานได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเรากลับมีพฤติกรรมที่ทำร้ายสมองของตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมทำร้ายสมอง

1. ไม่ทานอาหารเช้า นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่ เป็นสา-เหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมล-ภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนแบบนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง
ทั้งสิบอย่างนี้คัดมาฝากกันจาก “ต้นคิด” จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสมองของตัวเอง.
แหล่งที่มาจาก www.google.com

ข้อดีและข้อเสีย ของ คอมพิวเตอร์

นศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อดีของเสียของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย เช่นเดียวกับเครื่องใช้ทุกชนิด ยกตัว อย่างโทรทัศน์ ข้อดี เช่น เปิดดูสารคดี ข่าวสาร ความรู้ ประเทืองสมอง หรือดูการ์ตูน เกมโชว์ เพื่อความบันเทิง ใช้กับชีวิต เข้าสังคม การเรียน ให้ความรู้รอบตัว

ข้อเสียก็มี อาทิ คนดูที่ขาดวิจารณญาณ หรืออ่อนอาวุโส เช่นเด็กๆ อาจถูกเนื้อหาบางอย่างมอมเมา หรือรายการบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับคนบางกลุ่ม เช่น หนังที่มีเนื้อหารุนแรง ลามก หรือการใช้งานเกินระยะเวลาที่เหมาะสม ทำให้สุขภาพทรุดโทรม สายตาเสีย เสียการเรียน เสียงาน

คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน สมัยนี้บ้านไหนๆ ก็มีทั้งนั้น เด็กสมัยนี้ใช้งานคอมพิวเตอร์คล่อง หลักๆ คือ ใช้ต่ออินเตอร์เน็ตและใช้งานโปรแกรมในเครื่อง จาระไนข้อดี-ข้อเสียพอสังเขป

ว่ากันที่ข้อดีก่อน

1.เมื่อได้คอมพิวเตอร์มา 1 เครื่อง ยังไม่พูดถึงการต่ออินเตอร์เน็ต ในตัวเครื่องจะมีโปรแกรมต่างๆ ไว้ใช้งาน เช่น เครื่องคิดเลข ไมโครซอฟต์เวิร์ด เอ็กเซล สำหรับพิมพ์งาน ทำรายงาน จัดพิมพ์เอกสาร พิมพ์จดหมาย ออกมาสวยงาม รวดเร็ว หรือถ้าลงโปรแกรม ตกแต่งภาพอย่างโฟโต้ช็อป ก็สามารถทำภาพกราฟิก หรือโปร แกรมดรีมวีฟเวอร์ ทำเว็บไซต์ แล้วแต่โปรแกรมที่เลือกลงในเครื่อง

2.เมื่อต่ออินเตอร์เน็ตคอมพิวเตอร์ก็เหมือนหน้าต่างโลก เปิดเว็บอ่านข่าวสาร มีเว็บหนังสือพิมพ์ครบทุกหัว หาความรู้ทุกเรื่องที่มีในโลกได้ทั้งไทยทั้งเทศ ใครเก่งภาษาอื่นก็มีให้อ่านทั้งจีน เกาหลี รัสเซีย ฯลฯ จะฝึกภาษา ศิลปะ ดนตรี เบื้องต้นก็หาข้อมูลได้จากในอินเตอร์เน็ต

3.ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร ทำธุรกิจ ถ่ายทอดความคิดเห็น แสดงตัวตน เช่น สั่งโอนเงิน ซื้อขายหุ้น ซื้อขายสินค้า โดยไม่ต้องเดินทางไปทำธุรกรรมเอง การแช็ตในห้องสนทนาตามเว็บไซต์ต่างๆ ในโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น ยาฮูเมสเซ็นเจอร์ แคม ฟร็อก หรือแสดงความคิดเห็นในกระทู้ เขียนบล็อก ไดอารี่ เด็กหลายคนเขียนเป็นเรื่องราวน่าอ่านจนได้พิมพ์เป็นหนังสือขาย

4.เป็นเวทีในการแสดงผลงาน งานเขียน งานฝีมือ เป็นเวทีของโอกาส ทำให้เข้าถึงข่าวสารการประกวดต่างๆ ทุนการศึกษาขององค์กรต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายทางเว็บไซต์

5.ด้านความบันเทิง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ

ข้อเสีย

1.กินไฟ ขึ้นกับขนาดจอและขนาดเครื่อง รวมถึงระยะเวลาที่เปิดใช้งาน นอกจากนี้ละแวกไหนไฟดับบ่อยอาจใช้คอมพิวเตอร์ลำบาก เพราะระหว่างใช้งานเกิดไฟดับจะเกิดการกระชากไฟในเครื่องทำให้เสียหายได้

2.ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอทั้งอุปกรณ์และโปรแกรม เพราะอาจจะมีผลต่อการทำงานบางอย่างที่ต้องการความทันสมัยและเข้ากันได้กับ ระบบอื่นๆ การปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย

3.ใช้งานนานเกินไปก็เสียสุขภาพ ทั้งรังสีที่แผ่ออกมา การจ้องหน้าจอนานๆ เสียสายตา หรือ อดหลับอดนอนเล่นเกม หรือแช็ต บางรายเพลินจนลืมกินอาหาร ส่งผลกระทบต่อการเรียนการทำงาน ทำให้เด็กเก็บตัว ไม่เข้าสังคม มีแต่เพื่อนในโลกเสมือน ทำให้เกิดปัญหาบุคลิกภาพ ต้องจัดแบ่งเวลาให้ดี

4.เรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล สมัยนี้ใครๆ ก็ติดต่อธุรกิจกันทางอินเตอร์เน็ต ซื้อขายสินค้า โอนเงินผ่านธนาคาร เล่นหุ้น จึงเกิดอาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การล้วงข้อมูลส่วนบุคคล การต้มตุ๋นในรูปแบบต่างๆ การแฮ็กเจาะระบบที่บริษัทองค์กรใหญ่ๆ มักตกเป็นเหยื่อ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์

5.เนื่องจากเมื่อต่ออินเตอร์เน็ตแล้วทำให้เข้าถึงเนื้อหาได้หลากหลายทั่วโลก จึงมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมปะปนอยู่มากมาย ทั้งลามก อนาจาร รุนแรง ผู้ปกครองต้องดูแลการใช้งานของเด็ก แต่ประเด็นนี้ก็มีคนพยายามแก้ปัญหาด้วยการคิดโปรแกรมป้องกันขึ้นมาให้นำไป ติดตั้งในเครื่อง ดักไม่ให้เปิดเข้าชมเว็บที่ไม่เหมาะสม ช่วยได้พอประมาณ

แหล่งที่มาจาก www.google.com

จริยธรรมเเละความปลอดภัย

จริยธรรมเเละความปลอดภัย

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จริยธรรมเเละความปลอดภัย

ความหมายของจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้
ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก
ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์
มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศ และเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่รวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรม
ต่าง ๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน และหน่วยงานงานธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใน 2-3 ปีข้างหน้าความก้าวหน้า
ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จะมีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร เครือข่ายไร้สาย
และเครือข่ายเคลื่อนที่ ตลอดจนเทคโนโลยีหุ่น

มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้นำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยอำนวย
ความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต หรือแม้แต่การช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการเก็บกู้ระเบิด
และการผ่าตัดรักษาโรค

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม หากพิจารณาอีกด้านหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็อาจ
จะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในการการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม
ในแต่ละประเทศจึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดจริยธรรม
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น

1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความรำราญ

2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล

3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

4. การละเมิดลิขสิทธิ์
PAPA

โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น
ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไป หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถ
ที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ
ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

1. การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก
แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

2. การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับ
หรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ
แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

3. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

4. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูล
ประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล
โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการให้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และ
ที่อยู่อีเมล์

ความถูกต้อง (Information Accuracy)

ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือ
ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็น
ด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูล
ที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์กรให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
อีกประเด็น คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิด
ข้อผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง
ก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไป
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบหรือที่สอน เพื่อ
ตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง

ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์
คอมพิวเตอร์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถ
ถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น

ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มี
การจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นสำหรับท่านเอง หลังจากที่ท่านเปิดกล่อง หรือ
บรรจุภัณฑ์แล้ว หมายความว่า ท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไป
ในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมจะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้
หลาย ๆ เครื่อง ตราบใดที่ยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา

การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการ
คัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธิ์ในระดับใด เช่น

Copyright หรือ Software License ท่านซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มา และมีสิทธิ์ใช้

Shareware ซอฟต์แวร์ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

Freeware ซอฟต์แวร์ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

ปัจจุบันการใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อ
เป็นการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ
ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้นในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มี
การออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็น
การผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติ ตามระเบียบและข้อบังคับ
ของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)

ปัจจุบันการทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มมากขึ้น และมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
ซึ่งไม่ได้ทำลงบนกระดาษ แต่ทำในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อรองรับสถานะ
ทางกฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ วิธีส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการรับฟังพยานหลักฐาน และการชั่งน้ำหนัก
พยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับหนังสือหรือหลักฐานที่เป็นหนังสือ

กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)

ในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายฉบับนี้
จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อแบบธรรมดา สามารถระบุ
ตัวบุคคลผู้ลงลายมือชื่อ สามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นเห็นด้วยกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กำกับอยู่

กฎหมายอาชญาทางกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)

ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญหาหนึ่งก็คือ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อาชญากรรม
ทางคอมพิวเตอร์บางประเภทอาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศได้ ดังนั้น จึงมีการตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อปกป้องสังคม
ต่อการกระทำของอาชญากร โดยมีบทลงโทษอาชญากรที่กระทำผิดกฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Computer Fund Transfer Law)

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีขึ้นในประเทศไทยมากกว่า 2 ทศวรรษแล้ว ตั้งแต่มีการนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
มาใช้ในระบบธนาคาร เช่น บริการออนไลน์ ระบบเงินฝาก ซึ่งสามารถรับฝาก ถอน หรือโอนต่างสาขาธนาคารได้ แต่เนื่องจาก
ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีแต่เพียงระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย และ
ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการ โอนเงินเท่านั้น กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีขึ้นเพื่อ
วางกฎเกณฑ์ให้การทำธุรกรรมทางการเงินสามารถทำได้สะดวกปลอดภัย อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองมากขึ้น

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)

แม้ว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีจะก่อให้เกิดผลดีมากเพียงใด แต่ถ้านำมาใช้ในทางที่ผิดย่อมก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น
การนำข้อมูลข่าวสารไปใช้โดยไม่ชอบ การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือนำไปใช้ในทางทุจริตเพื่อให้
บุคคลนั้นเสียหาย การตรากฎหมายฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวจากการคุกคามของบุคคลอื่น
ในการนำข้อมูลส่วนตัว ของบุคคลอื่น ไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง

กฎหมายการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (Universal Access Law)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้วางหลักการที่สำคัญในการใช้โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ
ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไว้ในมาตรา 78 ซึ่งบัญญัติว่า "รัฐจะต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจ
ในกิจการได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
ในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น" ดังนั้นเพื่อสนองรับต่อหลักการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
มาตรา 78 จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายนี้

ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

1. พวกมือใหม่หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้ และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย ไม่ได้ดำรงชีพ
โดยการกระทำความผิด

2. นักเจาะข้อมูล ผู้ที่เจาะข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่าย
ของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกลักเล็กขโมยน้อยที่พยายามขโมยบัตรเอทีเอ็ม ของผู้อื่น

4. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่น พวกที่มักจะใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกง
สถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น

5. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ
ศาสนา หรือสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นคงจะไม่ใช่มีผลกระทบเพียงแต่ความมั่นคงของบุคคลใด
บุคคลหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบไปถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศชาติเป็นการส่วนรวม ทั้งความมั่นคงภายใน
และภายนอกประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข่าวกรอง หรือการจารกรรมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมเช่น

1. ในปัจจุบันความมั่นคงของรัฐนั้นมิใช่จะอยู่ในวงการทหารเพียงเท่านั้น บุคคลธรรมดาก็สามารถป้องกัน หรือทำลาย
ความมั่นคงของประเทศได้

2. ในปัจจุบันการป้องกันประเทศอาจไม่ได้อยู่ที่พรมแดนอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการคุกคาม หรือ
ทำลายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

3. การทำจารกรรมในสมัยนี้มักจะใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

บนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ความผิดต่าง ๆ ล้วนแต่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การจารกรรม การก่อการร้าย การค้า
ยาเสพติด การแบ่งแยกดินแดน การฟอกเงิน การโจมตีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม
เช่น ระบบจราจร หรือระบบรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ความมั่นคง
ของประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของชาติ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด การโจมตีผ่านทาง
ระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สามารถทำได้ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับการเคลื่อนที่ความเร็วแสง ซึ่งเหนือกว่า
การเคลื่อนทัพทางบก หรือการโจมตีทางอากาศ
วิธีการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

Data Diddling คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือระหว่างที่กำลังบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถกระทำโดยบุคคลที่สามารถเข้าถึงตัวข้อมูลได้ เช่น พนักงานที่มีหน้าที่บันทึกเวลา
การทำงานของพนักงานทั้งหมด ทำการแก้ไขตัวเลขชั่วโมงการทำงานของคนอื่นมาเป็นชั่วโมงการทำงานของตนเอง เป็นต้น

Trojan Horse คือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์ เมื่อถึงเวลาโปรแกรมที่ไม่ดี
จะปรากฏตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีนี้มักจะใช้กับการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ หรือการทำลายล้างข้อมูล หรือระบบ
คอมพิวเตอร์

Salami Techniques คือ วิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่ 3 หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงิน
ที่จ่ายได้ และจะทำให้ผลรวมของบัญชียังคงสมดุล (Balance) และจะไม่มีปัญหากับระบบควบคุมเนื่องจากไม่มีการนำเงิน
ออกจากระบบบัญชี นอกจากใช้กับการปัดเศษเงินแล้ววิธีนี้อาจใช้กับระบบการตรวจนับของในคลังสินค้า

Super zapping มาจากคำว่า Super zap เป็นโปรแกรม Macro Utility ที่ใช้เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์
ของบริษัท IBM เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของระบบ (System Tool) ทำให้สามารถเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้ในกรณีฉุกเฉิน
เสมือนกุญแจดอกอื่นหายหรือมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เช่นโปรแกรม Super zap
จะมีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่หวังดี

Trap Doors เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ที่มาใช้
คอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบถึงรหัสประจำตัว (ID Number) หรือรหัสผ่าน (Password) โดยโปรแกรมนี้จะเก็บข้อมูล
ที่ต้องการ ไว้ในไฟล์ลับ

Logic Bombs เป็นการเขียนโปรแกรมที่มีคำสั่งอย่างมีเงื่อนไขไว้ โดยโปรแกรมจะเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะ หรือ
สภาพการณ์ ตามที่ผู้สร้างโปรแกรมกำหนด สามารถใช้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของระบบบัญชี ระบบเงินเดือน
แล้วทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว

Asynchronous Attack เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานแบบ Asynchronous คือ
สามารถทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน โดยการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นจะเสร็จไม่พร้อมกัน ผู้ใช้งานจะทราบว่างาน
ที่ประมวลผลเสร็จหรือไม่ก็ต่อเมื่อเรียกงานนั้นมาดู ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดจุดอ่อน ผู้กระทำความผิดจะฉวยโอกาสในระหว่าง
ที่เครื่องกำลังทำงาน เข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือกระทำการอื่นใดโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น

Scavenging คือ วิธีการที่จะได้ข้อมูลที่ทิ้งไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือบริเวณใกล้เคียงหลังจากเสร็จการใช้งานแล้ว
วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ค้นหาตามถังขยะที่อาจมีข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสผ่านหลงเหลืออยู่ หรืออาจใช้
เทคโนโลยีที่ซับซ้อนทำการหาข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกงานแล้ว

Data Leakage คือ การทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป อาจโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม เช่น การแผ่รังสี
ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะที่กำลังทำงานคนร้ายอาจตั้งเครื่องดักสัญญาณไว้ใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งาน

Piggybacking วิธีการนี้สามารถทำได้ทางกายภาพ (Physical) คือ การที่คนร้ายจะลักลอบเข้าไปในประตูที่มีระบบ
รักษาความปลอดภัย คนร้ายจะรอให้บุคคลที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาตมาใช้ประตูดังกล่าว เมื่อประตูเปิดและบุคคลนั้นได้เข้าไป
คนร้ายก็ฉวยโอกาสตอนที่ประตูยังปิดไม่สนิทแอบเข้าไปได้ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นเดียวกัน อาจเกิดในกรณีที่ใช้สายสื่อสาร
เดียวกับผู้ที่มีอำนาจใช้ หรือได้รับอนุญาต เช่น ใช้สายเคเบิล หรือโมเด็มเดียวกัน

Impersonation คือ การที่คนร้ายแกล้งปลอมเป็นบุคคลอื่นที่มีอำนาจ หรือได้รับอนุญาต เช่น เมื่อคนร้ายขโมย
บัตรเอทีเอ็มของเหยื่อได้ก็จะโทรศัพท์และแกล้งทำเป็นเจ้าพนักงานของธนาคาร และแจ้งให้เหยื่อทราบว่ากำลังหาวิธีการป้องกัน
ไม่ให้เงินในบัญชีของเหยื่อสูญหายจึงบอกให้เหยื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยให้เหยื่อบอกรหัสเดิมก่อน คนร้ายจึงทราบหมายเลขรหัส
และได้เงินของเหยื่อไป

Wiretapping เป็นการลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารโดยเจตนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผ่าน
เครือข่ายการสื่อสาร หรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศโดยการกระทำความผิดดังกล่าวกำลังเป็นที่หวาดวิตกกับ
ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

Simulation and Modeling ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการควบคุมและติดตาม
ความเคลื่อนไหวในการประกอบอาชญากรรม และกระบวนการดังกล่าวก็สามารถใช้โดยอาชญากร ในการสร้างแบบจำลอง
ในการวางแผน เพื่อประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่น ในกิจการประกันภัยมีการสร้างแบบจำลองในการปฏิบัติการ หรือ
ช่วยในการตัดสินใจ ในการทำกรมธรรม์ประกันภัย โปรแกรมสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผล
ให้บริษัทประกันภัยจริงล้มละลาย เมื่อถูกเรียกร้องให้ต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่ขาดการต่ออายุ หรือกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงิน
เพียงการบันทึก (จำลอง) ไม่ได้รับเบี้ยประกันจริง หรือต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่เชื่อว่ายังไม่ขาดอายุ

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Viruses)

ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากภาษาระดับล่าง โดยมีการออกแบบมาในทางไม่ดี คือ
ให้มีคุณสมบัตินำตนเองไปติดปะปนกับโปรแกรมอื่นที่อยู่ในระบบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
เกิดการทำงานที่ผิดเพี้ยนไป หรือการทำงานที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ หรืออาจฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์

จุดมุ่งหมายของโปรแกรมไวรัส คือ รบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือทำลายแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ
ในระบบคอมพิวเตอร์ และหลบซ่อนตัวเพื่อติดต่อไปยังแผ่นดิสก์ หรือ อุปกรณ์ต่อพวงอื่น ๆ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ไวรัสก็จะทำงานเฉพาะในหน่วยความจำของระบบเท่านั้น และจะอยู่จนกว่าจะมีการปิดเครื่อง เมื่อเราปิดเครื่องไวรัสก็จะถูกกำจัด
ออกจากหน่วยความจำด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าได้กำจัดไวรัสออกจากระบบ การปิดเครื่องไม่ได้เป็นการกำจัดไวรัส
ออกจากไฟล์ โปรแกรม หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ ดังนั้น เมื่อมีการเปิดใช้คอมพิวเตอร์ในครั้งต่อไปไวรัสก็จะกลับมา
ทำงานอีกและจะทำการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมอื่น ๆ การทำงานของโปรแกรมไวรัสจะมีลักษณะของการแพร่กระจาย และ
การดำรงอยู่เหมือนกับเชื้อไวรัส
ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

1. Macro Viruses เป็นไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่โดยถูกสร้างจากภาษาไมโครซอฟต์เวิร์ด (Word Basic) ซึ่งจะทำงาน
และแพร่กระจายไปยังไฟล์ข้อมูลประเภทเอกสาร โดยเฉพาะในโปรแกรม Microsoft Word ซึ่งตัวไวรัสจะฝังตัวและเข้าไป
ทำลายแฟ้มข้อมูลนามสกุล .dot และ .doc (นาสกุล .dot เป็นนามสกุลที่ใช้สำหรับการจัดเก็บสถานะทางหน้าจอของ
ไมโครซอฟต์เวิร์ด และเก็บไมโครซอฟต์เวิร์ดที่สร้างขึ้น และนามสกุล .doc คือไฟล์เอกสารที่เราบันทึกข้อมูล) พร้อมกับเข้าไป
ทำลายไฟล์ระบบของไมโครซอฟต์เวิร์ด ทำให้เวลาพิมพ์งาน เครื่องจะเกิดอาการแฮงก์บ้าง หรือเปิดไฟล์ไม่ได้บ้าง หรือ
เปิดเอกสารได้แต่เป็นภาษาที่อ่านไม่ออก ไวรัสมาโคร เป็นไวรัสที่อันตรายพอสมควร ได้แก่ ไวรัสชื่อ word_cab และไวรัสชื่อ
word_johnny

2. Command Viruses เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ไม่ได้หวังผลในการทำลายระบบหรือแฟ้มข้อมูล
แต่เป็นการทำให้เกิดความกลัว และสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ไวรัสประเภทนี้ง่ายต่อการตรวจสอบและการกำจัด

3. Program Viruses เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถแพร่กระจายได้เมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรมที่มีไวรัสทำงานอยู่
และสามารถกระจายไปสู่โปรแกรมอื่นอย่างรวดเร็ว

4. Boot Viruses เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถแฝงตัวเองและสามารถกระจายในส่วนที่เป็นพื้นที่เฉพาะ
ของฮาร์ดดิสก์ คือ ในส่วนของบูตเรคคอร์ด (Boot Record) หรือ มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (Master Boot Record) เช่น
ไวรัส Stone เป็นต้น

5. Stealth Viruses เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการหลบซ่อน สามารถซ่อนตัวเองจากการตรวจสอบได้
ทำให้ยากแก่การตรวจสอบ และกำจัด

6. Pelymorphic Viruses เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานหลายรูปแบบในตัวเอง มีรูปแบบที่แตกต่าง
กันไปในการแพร่กระจายแต่ละครั้ง ทำให้ยากแก่การตรวจสอบ

7. Multipartite Viruses เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดผสมที่รวมเอาการทำงานของไวรัสหลายแบบไว้ในตัวเอง
ไวรัสประเภทนี้สามารถแพร่กระจายได้ทั้งในไฟล์ และในโปรแกรม
โปรแกรมรหัสลับ (Encryption Software)

โปรแกรมนี้จะทำให้แฟ้มข้อมูลหรือข้อความไม่สามารถเปิดใช้งานได้ เพื่อให้เปิดได้เฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ที่มีโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกัน หรือมีรหัสผ่าน ที่ใช้เปิดแฟ้มนี้ อาจเป็นชุดตัวเลขที่ตั้งขึ้นมาแบบสุ่ม โปรแกรมชนิดนี้โดยทั่วไป
นิยมใช้กันในเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ที่เปิดประตูอัตโนมัติ เครื่องกดเงินด่วน (ATM) เป็นต้น

หลายประเทศต้องการควบคุมเนื้อหา หรือข้อมูลที่เก็บไว้ในโปรแกรมเหล่านี้ จึงมีความพยายามที่จะควบคุม เช่น
มีข้อกำหนดให้ผู้สร้าง หรือผู้ใช้ซอฟต์แวร์แปลงรหัสต้องยื่นเรื่องกับรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ผู้รักษากฎหมายสามารถเข้าไป
อ่านแฟ้มเหล่านี้ได้ มีผู้ที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ เห็นด้วยที่รัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ต แต่มีผู้คัดค้าน
จำนวนมากที่กลัวว่าจะมีการใช้ระบบนี้ไปในทางที่ผิด โดยชี้ให้เห็นว่าอาจเกิดความผิดพลาดทางเทคนิค และทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดี
ใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดจากระบบนี้ เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลจีนได้กำหนดให้มีการลงทะเบียนรหัสผ่านของโปรแกรมแปลงรหัส
กับรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว

โปรแกรมแปลงภาพและแต่งภาพ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ก่อให้เกิดสื่อด้านลามกขึ้นมากมาย เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการตกแต่ง
และแปลงภาพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Photoshop, Illustrator หรือ Photo Editor ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เหล่านี้ เมื่อนำไปใช้ในทางที่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดภาพที่สวยงาม ในส่วนที่มีข้อบกพร่องก็สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ช่วยในการแต่งเติมรูปภาพได้ แต่ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นระบบที่เปิดกว้างในการใช้งานกับบุคคลทุกคน ซึ่งจะมีทุกกลุ่ม
บุคคลและทุกประเภท ที่สามารถเข้าไปใช้งานโดยมีบางคนที่ขาดจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งได้นำภาพที่ไม่เหมาะสม
ของกลุ่มคนที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา นักร้อง โดยนำภาพของบุคคลเหล่านี้ไปใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตกแต่ง ซึ่งเป็นภาพ
ที่บิดเบือนจากความเป็นจริง โดยส่วนมากจะเป็นภาพที่ส่อให้เกิดการอนาจาร แล้วนำไปเผยแพร่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก่อให้เกิด
ความเสื่อมเสียแก่บุคคลนั้น นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ในอดีตไม่มีการคุ้มครองซึ่งบุคคลที่ทำการแปลงภาพเหล่านี้
จะไม่ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย แต่ในปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นมาเพื่อดำเนินคดี
กับผู้ปลอมแปลงภาพ โดยจะถือว่าผู้ใดที่ทำการปลอมแปลงภาพซึ่งบิดเบือนจากความเป็นจริง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

คณะจัดทำ: นายสุรศักดิ์ บุญประเสริฐ

นักศึกษาชั้น ปวส. ปีที่ 2 สาขางานการพัฒนาเว็บเพจ
วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร

หน้าที่ เว็บมาสเตอร์ ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
จัดรูปแบบรายงานการวิจัย

ที่อยู่ 193/1 ถนนฝั่งสถานีรถไฟ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดพิจิร 66000

โทรศัพท์ 0873304229

อีเมล์ teamplus16@hotmail.com

นางสาวจรีภรณ์ ทรงประดิษฐ์

นักศึกษาชั้น ปวส. ปีที่ 2 สาขางานการพัฒนาเว็บเพจ
วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร

ที่อยู่ 65 หมู่ 8 ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง
จังหวัดพิจิตร 66000

หน้าที่ รวบรวมข้อมูลและภาพประกอบเว็บไซต์
รวบรวมเนื้อหารายงานการวิจัย

โทรศัพท์ 0875203268

อีเมล์ nao_ki@hotmail.com

แหล่งที่มา:www.google.com

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา




ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทั่วๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งสูงโดดเด่นขึ้นมาจากที่ราบภาคกลางแล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูงโคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพงสูง 875 เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชันไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก อยู่ในพื้นที่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ มาบรรจบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำลำตะคองและแม่น้ำพระเพลิง อยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือ ไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคอีสานตอนล่างไหลลงสู่แม่น้ำโขง ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอดทั้งปีและให้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก



ลักษณะภูมิอากาศ

ด้วยสภาพป่าที่รกทึบและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดและหนาวจัดจนเกินไป จัดอยู่ในประเภทเย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำในลำธารและนำอาหารไปรับประทาน ไม้ป่ามีดอกหลากสีบานสะพรั่งบ้างออกผลตามฤดูกาล

ฤดูฝน เป็นช่วงหนึ่งของปีที่สภาพบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้ทุ่งหญ้าเขียวขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงส่งเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือน แม้การเดินทางจะลำบากกว่าปกติแต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ลดน้อยลงเลย

ฤดูหนาว ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ท้องฟ้าสีครามแจ่มใสตัดกับสีเขียวขจีของป่าไม้ พยับหมอกที่ลอยเอื่อยไปตามทิวเขา ดวงอาทิตย์กลมโตอยู่เบื้องหน้าไกลโพ้น อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน แต่รุ่งเช้าของวันใหม่จะพบกับธรรมชาติที่สวยงามแตกต่างไปจากเมื่อวานอีกแบบหนึ่ง



พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แบ่งออกๆได้เป็น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ป่าเบญจพรรณแล้ง ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง นนทรี ซ้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชชั้นล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่างๆ รวมทั้งกล้วยไม้ด้วย ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟลุกลามเสมอ และตามพื้นป่าจะมีหินปูนผุดขึ้นอยู่ทั่วๆ ไป

ป่าดงดิบแล้ง ลักษณะป่าชนิดนี้มีอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ชั้นบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบก สมพง สองสลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ซาก และคอแลน เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองมี กะเบากลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้น เป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วยพืชจำพวกมะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า กล้วยป่า และเตย เป็นต้น

ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดงดิบแล้ง เพียงแต่ว่าไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก โดยเฉพาะพื้นที่ถูกรบกวนจะพบ ชมพูป่าและกระทุ่มน้ำขึ้นอยู่ทั่วไป พรรณไม้ผลัดใบ เช่น ปออีเก้ง สมพง และกว้าว แทบจะไม่พบเลย บริเวณริมลำธารมักจะมีไผ่ลำใหญ่ๆ คือ ไผ่ลำมะลอกขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ป่าดิบชื้นบนที่สูงขึ้นไปจะมียางปายและยางควน นอกจากไม้ยางแล้วไม้ชั้นบนชนิดอื่นๆ ยังมี เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดง และทะโล้ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อน้ำ ก่อรัก ก่อด่าง และก่อเดือย ขึ้นปะปนกัน

ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้เกิดอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เลย พรรณไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี และไม้ก่อชนิดต่างๆ ที่พบขึ้นในป่าดงดิบชื้น นอกจากก่อน้ำและก่อต่างๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตรเท่านั้น ตามเขาสูงจะพบต้นกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เก็ดล้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำลังกาสาตัวผู้ กูด และกล้วยไม้ดิน

ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต ก่อนมีการจัดตั้งป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติได้มีราษฎรอาศัยอยู่และได้แผ้วถางป่าทำไร่ เมื่อมีการอพยพราษฎรลงไปสู่ที่ราบ บริเวณไร่ดังกล่าวถูกปล่อยทิ้ง ต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาเสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้าแขม หญ้าพง หญ้าขนตาช้างเลา และตองกง และยังมีกูดชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น โขนใหญ่ กูดปี้ด โขนผี กูดงอดแงด และกูดตีนกวาง

เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีการป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พื้นที่ป่าหญ้าหรือป่าเหล่านี้จึงไม่ถูกรบกวนจากไฟป่าเลย ดังนั้น จึงมีพันธุ์ไม้เบิกนำจำนวนไม่น้อย แพร่พันธุ์กระจัดกระจายทั่วไป เช่น สอยดาว บรมือ ลำพูป่า เลี่ยน ปอหู ตลงแตบ ฯลฯ ปัจจุบันพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าบางแห่งได้กลับฟื้นคืนสภาพเป็นป่าละเมาะบ้างแล้ว

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนต์ไปตามถนน จะสามารถเห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน ลูกช้างเล็กๆ ซนและน่ารักมาก บริเวณตั้งแต่ที่ชมวิวกิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางเข้าหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบันถ้าขับรถยนต์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไปแล้ว สามารถเห็นโขลงช้างได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืนจากการศึกษาตามโครงการการอนุรักษ์ช้างป่า และการจัดการพื้นที่ป้องกัน (ELEPHANT CONSERVATION AND PROTECTED AREA MANAGMENT) โดย MR. ROBERT J. DOBIAS ภายใต้ความร่วมมือของ WWF และ IUCN ในปี พ.ศ.2527-2528 พบว่า มีจำนวนประมาณ 250 เชือก

สัตว์ป่าที่สามารถพบได้บ่อยๆ และตามโอกาสอำนวย ได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้าทั่วๆ ไป นอกจากนี้ยังพบ เสือโคร่ง กระทิง เลียงผา หมี เม่น ชะนี พญากระรอก หมาไม้ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า นกชนิดต่างๆ จำนวน 250 ชนิด จากจำนวนไม่น้อยกว่า 340 ชนิด ที่สำรวจพบอาศัยอยู่บริเวณป่าเขาใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารและที่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจและพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ นกเงือกทั้ง 4 ชนิด ซึ่งได้แก่ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก และนกเงือกสีน้ำตาล ที่พบบนเขาใหญ่นับว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักดูนกเป็นอย่างดี เพราะพบเห็นได้ทั่วไป พวกแมลงที่มีมากกว่า 5,000 ชนิด ที่สวยงามและพบเห็นบ่อยได้แก่ ผีเสื้อ มีรายงานพบกว่า 216 ชนิด

0 ความคิดเห็น:


แสดงความคิดเห็น



ประเภทของเพลงไทย

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของเพลงไทย


ประเภทของเพลงไทย

เพลงไทย หมายถึง เพลงที่แต่งขึ้นตามหลักของดนตรีไทย มีลีลาในการขับร้องและบรรเลงแบบไทย โดยเฉพาะและแตกต่างจากเพลงของชาติอื่นๆ เพลงไทยแต่เดิมมักจะมีประโยคสั้นๆและมีจังหวะค่อนข้าง เร็วส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเพลงพื้นบ้าน หรือเพลงสำหรับประกอบการรำเต้นเพื่อความสนุกสนาน
รื่นเริง ต่อมา เมื่อต้องการจะใช้เป็นเพลงสำหรับร้องขับกล่อม และประกอบการแสดงละครก็จำเป็นต้อง ประดิษฐ์ ทำนองให้มีจังหวะช้ากว่าเดิม และมีประโยคยาวกว่าเดิม ให้เหมาะสมที่จะร้องได้ไพเราะ จึงได้คิด แต่งทำนอง ขยายส่วนขึ้นจากของเดิมเป็นทวีคูณ เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสองชั้น เพราะต้องแต่งขยาย จากเพลงเดิม อีกชั้นหนึ่ง และเรียกเพลงในอัตราเดิมนั้นว่า เพลงชั้นเดียวเพลงไทยในสมัยอยุธยาเป็นเพลง สองชั้นและชั้นเดียว เกือบทั้งสิ้น เพราะต้องใช้ร้องสำหรับขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ซึ่งเป็นที่ี่ นิยมกันมากในสมัยนั้น
สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่นิยมเล่นสักวากันมาก ผู้เล่นสักวาจะต้องแต่งกลอนเป็นกลอนสดด้วยปฏิภาณ
ในปัจจุบัน ถ้าจะร้องอย่างเพลงสองชั้นเหมือนกับการร้องประกอบการแสดงละครจะทำให้ผู้แต่งมี เวลาคิดกลอน น้อยลง อาจแต่งไม่ทันหรืออาจไม่ไพเราะเท่าที่ควร จึงคิดแต่งทำนองเพลง ร้องขยายจาก ทำนองเพลงสองชั้น ขึ้น ไปอีกเท่าตัว สำหรับใช้ในการร้องสักวา เรียกเพลงในอัตรานี้ว่าเพลงสามชั้น
ดังนั้น เพลงในอัตราสามชั้น จะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงสองชั้น และเพลงสองชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงชั้นเดียว การบรรเลง จะเลือกบรรเลงเพลงอัตราหนึ่งอัตราใดเพียงอย่างเดียวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสม ถ้าบรรเลงติดต่อกันทั้ง ๓ อัตรา เรียกว่า เพลงเถา

ประเภทของเพลงไทย อาจแบ่งออกได้เป็นพวกๆ คือ








๑. เพลงสำหรับบรรเลงดนตรีล้วนๆ ไม่มีการขับร้อง เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประโคมพิธีต่างๆ เพลงโหมโรง และเพลงหน้าพาทย์ จะเป็นเพลงสำหรับใช้ประกอบกิริยาอาการและแสดงอารมณ์ต่างๆ ของการรำ ๒. เพลงสำหรับขับร้อง คือ เพลงซึ่งร้องแล้วรับด้วยการบรรเลง เรียกว่า ร้องส่งดนตรี เช่น เพลงประกอบ การขับเสภา(ร้องส่งเสภา) เพลงที่ร้องส่งเพื่อฟังไพเราะทั่วไปส่วนมากจะเป็นเพลงเถาและเพลงตับ เพลงชั้นเดียว
เพลงชั้นเดียว หมายถึง เพลงที่มีจังหวะเร็ว หรือเรียกว่าเพลงเร็ว จะสังเกตได้จากเสียงฉิ่ง ปกติแล้ว การตีฉิ่งจะเริ่มด้วยเสียง ฉิ่ง และจบด้วยเสียง ฉับ ตีสลับกันไปจนกว่าจะจบการบรรเลง ถ้าช่วงระหว่างเสียงฉิ่ง และฉับเร็วกระชับติดกันก็แสดงว่าเป็นเพลงชั้นเดียว หรือสังเกตได้จากทำนองร้อง เพลงชั้นเดียวจะร้องเอื้อนน้อย หรือไม่มีการร้องเอื้อนเลยก็ได้
เพลงชั้นเดียว ใช้ขับร้องและบรรเลงประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ ตัวอย่างเพลงชั้นเดียวเพลงสองชั้น
เพลงสองชั้น หมายถึง เพลงที่มีจังหวะปานกลาง ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ส่วนใหญ่เป็นเพลงสั้นๆ ที่ร้องและจำทำนองง่าย มีความยาวกว่าเพลงชั้นเดียวหนึ่งเท่าตัว หรือสังเกตจากเสียงฉิ่ง ช่วงระหว่างเสียงฉิ่งและฉับห่างกันปานกลาง มีทำนองร้อง การร้องเอื้อนไม่มากไม่น้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะของเพลง
เพลงสองชั้น ใช้ขับร้องและบรรเลงเพื่อเป็นการขับกล่อม และประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ ตัวอย่างเพลงสองชั้น
เพลงสามชั้น
เพลงสามชั้น หมายถึง เพลงที่มีจังหวะช้า ต้องใช้เวลาบรรเลงและขับร้องนานกว่าเพลงในอัตราอื่นๆ
ถ้าจะสังเกตเสียงฉิ่ง ช่วงระหว่างเสียงฉิ่งและฉาบห่างกันมาก ทำนองร้องจะมีการร้องเอื้อนยาวๆ
เพลงสามชั้น ใช้ขับร้องและบรรเลงในโอกาสทั่วไปเพลงเถา
เพลงเถา หมายถึง เพลงขนาดยาวที่มีเพลง ๓ ชนิดติดต่ออยู่ในเพลงเดียวกันโดยการบรรเลงเพลงสามชั้น ก่อน แล้วเป็นเพลงสองชั้น ลงมาจนถึงเพลงชั้นเดียว เรียกว่า เพลงเถา ตัวอย่าง เพลงเขมรพวงเถา เดิมเป็นเพลงสองชั้น ต่อมา หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้คิดแต่งขึ้นเป็นสามชั้นดำเนินทำนองเป็นคู่กัน กับเพลงเขมรเลียบพระนคร เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วหมื่นประคมเพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน) ได้ตัดลงเป็นชั้นเดียว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และมีทำนองชั้นเดียวโดย นายเหมือน ดุริยะประกิต เป็นผู้แต่งเพลงเถานิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปของเพลงรับร้อง คือเมื่อร้องจบท่อน ดนตรีก็บรรเลงรับ
ไม่นิยมนำเพลงเถามาร้องให้ดนตรีบรรเลงคลอ หรือบรรเลงลำลองแต่อย่างใด
เพลงเกร็ด
เพลงเกร็ด เป็นเพลงขนาดย่อม นำมาขับร้องและบรรเลงเป็นเพลงๆไปอาจเป็นอัตราจังหวะใด จังหวะหนึ่งในชุดของเพลงเถา หรือเป็นเพลงใดเพลงหนึ่งจากชุดเพลงตับหรือเพลงเรื่องก็ได้ เพลงเกร็ด ที่ขับร้องและบรรเลงกันอยู่โดยทั่วๆ ไป มักจะมีบทร้องที่มีความหมาย มีคติมีความซาบซึ้ง ประทับใจและมีช่วง ทำนองที่มีความไพเราะเป็นพิเศษ ตัวอย่างเพลงเกร็ด เช่น เพลงแป๊ะ (สามชั้น) เพลงแขกสาหร่าย (สองชั้น)
และเพลงเต่าเห่ (สองชั้น)
เพลงละคร
เพลงละคร หมายถึง เพลงที่ใช้ขับร้องและบรรเลงในการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่างๆ มีทั้งร้องแล้วดนตรีรับ ทั้งร้องคลอดนตรี เคล้า และลำลอง ขึ้นอยู่กับลักษณะการแสดงนั้นๆ
ตัวอย่างเพลงละคร ได้แก่ เพลงอัตราสองชั้น เช่น เพลงสร้อยเพลง เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือเพลงในอัตราเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงหนีเสือ เพลงลิงโลด และเพลงพิเศษที่ใช้เฉพาะละครแท้ๆ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงโอ้ชาตรี เพลงโอ้โลม เพลงโอ้ร่าย เพลงยานี เพลงชมตลาด เป็นต้น
เพลงที่ใช้ร้องประกอบละครหรือมหรสพอื่นๆ จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามอารมณ์ของตัวละคร เช่น เพลงพญาโศก เพลงสร้อยเพลง ใช้สำหรับอารมณ์โศก เพลงนาคราช เพลงลิงโลด ใช้สำหรับอารมณ์โกรธ เพลงโอ้โลม เพลงโอ้ชาตรี ใช้สำหรับอารมณ์รักหรือเวลาเกี้ยวพาราสี เป็นต้น
เพลงลา
หมายถึง เพลงที่ผู้ขับร้องและบรรเลงแสดงเป็นอันดับสุดท้ายก่อนที่การแสดงจะจบลง ซึ่งเป็นไปตามแบบแผนของการแสดงกิจกรรมการบรรเลงดนตรีไทย ที่โบราณจารย์ได้กำหนดไว้ กล่าวคือ เพลงแรกที่บรรเลงคือเพลงโหมโรง และเพลงสุดท้ายต้องบรรเลงเพลงลา เพื่อเป็นการร่ำลาให้ศีลให้พรแก่เจ้าของงานหรือผู้ชมผู้ฟัง เนื้อร้องมีความหมายในทางร่ำลา อาลัย อาวรณ์ และให้ศีลให้พรแล้ว มักจะมี สร้อย คือ มีการร้องว่า "ดอกเอ๋ย เจ้าดอก..." และจะมีเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่ง บรรเลงเลียนเสียงร้องให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด ซึ่งเรียกกันเป็นทางภาษาสามัญว่า "ว่าดอก" เครื่องดนตรีที่ใช้ก็อาจใช้ ซออู้
เพลงลาที่นิยมใช้บรรเลงกัน เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เพลงอกทะเลเพลงเรื่อง
เพลงเรื่อง คือ เพลงที่โบราณาจารย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยนำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหลายๆ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด เป็นเรื่อง เพื่อความสะดวกในการใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ กัน เช่น เพลงเรื่อง นางหงส์ สำหรับใช้บรรเลงประกอบพิธีศพ เพลงเรื่องฉิ่งพระฉันสำหรับใช้บรรเลงประกอบพระฉัน ภัตตาหาร และเพลงเรื่องสร้อยสน สำหรับใช้บรรเลงในโอกาสทั่วๆ ไป นอกจากนั้น ยังเป็นการรวบรวมเพลงที่มีลักษณะคล้ายๆ กันมาไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการจดจำ ที่น่าสังเกตคือ มักจะนิยมบรรเลงเพลงเรื่อง โดยการบรรเลงเฉพาะดนตรี ไม่มีร้อง
การบรรเลงเพลงเรื่อง โดยทั่วไปประกอบด้วยเพลงช้า เพลงสองไม้ เพลงเร็ว และจบลงด้วยเพลงลา เช่น เพลงเรื่องสร้อยสน ประกอบด้วยเพลงสร้อยสน เพลงพวงร้อย แล้วออกท้ายด้วยเพลงสองไม้ และเพลงเร็ว จบด้วยเพลงลาเพลงโหมโรง
เพลงโหมโรง หมายถึง เพลงที่บรรเลงในอันดับแรกสำหรับงานต่างๆ เพื่อเป็นการประกาศให้รู้ว่า ขณะนี้งานดังกล่าวกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว และเป็นการบรรเลงเพื่อเคารพสักการะครูอาจารย์ และอัญเชิญเทพยดามายังสถานมงคลพิธีนั้นด้วย เพลงโหมโรงแบ่งออกได้หลายลักษณะ ดังนี้
๑. โหมโรงเช้า ใช้บรรเลงในงานมงคลพิธีต่างๆ ซึ่งจะมีขึ้นในตอนเช้า เช่น งานที่รู้จักกันเป็นสามัญว่า งานสวดมนต์เย็นฉันเช้า เพลงที่บรรเลง ได้แก่ สาธุการ เหาะ รัว กลม ชำนาญ
๒. โหมโรงกลางวัน เป็นโหมโรงที่เกิดขึ้นจากประเพณีการแสดงมหรสพในสมัยโบราณ ถ้าเป็นการแสดงกลางวัน ซึ่งได้เริ่มแสดงตั้งแต่เช้ามาแล้ว เมื่อถึงเวลาเที่ยงจะต้องหยุดพักกลางวัน เพื่อให้ตัวละครและผู้บรรเลงดนตรี ตลอดจนผู้ร่วมงานการแสดงนั้น ได้หยุดพักและรับประทานอาหารกลางวัน โหมโรงกลางวัน ประกอบด้วยเพลง กราวใน เชิด ชุบ ลา กระบองตัน เสมอข้ามสมุทร เชิดฉาน ปลูกต้นไม้ ชายเรือ รุกร้น แผละ เหาะ
โล้ วา
๓. โหมโรงเย็น เป็นเพลงชุดที่ใช้บรรเลงในตอนเย็นของงาน ในการเริ่มงานมงคลต่างๆ ประกอบด้วยเพลง สาธุการ ตระโหมโรง รัวสามลา ต้นชุบ เข้าม่าน ปฐม ลา เสมอ รัว เชิด กลม ชำนาญ กราวใน ต้นชุบ
๔. โหมโรงเสภา เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีการนำเอาปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภา การโหมโรงเสภาใช้ลักษณะเดียวกันกับโหมโรง ก่อนการแสดงละคร คือ ปี่พาทย์จะบรรเลงหน้าพาทย์ชุดต่างๆ จนกระทั่งถึงเพลงวาแล้วจึงเริ่มการแสดง ต่อมาเพื่อไม่ให้เสียเวลามาก ใช้บรรเลง เพลงวา เพลงเดียว จากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้เพลงในอัตราสองชั้นและสามชั้นตามความนิยม แต่ก็ยังยึดถือกันว่า ต้องจบด้วยทำนองตอนท้ายของเพลงวา นอกจากนั้น ยังกำหนดให้บรรเลง เพลงรัว ซึ่งเรียกกันเป็นสามัญว่า รัวประลองเสภา แล้วจึงบรรเลงเพลงโหมโรง

ในปัจจุบัน การบรรเลงของวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี ก็ได้นำเอาวิธีการโหมโรงเสภานี้มาใช้ แต่ได้ตัดเพลงรัวประลองเภาออกเสีย เริ่มต้นด้วยเพลงโหมโรง และจบด้วยทำนองท้ายของเพลงวาเหมือนกัน และนิยมใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลายจนทุกวันนี้เพลงหน้าพาทย์
เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา พฤติกรรมต่างๆ และอารมณ์ของตัวละคร เช่น เพลงโอดสำหรับร้องไห้ เสียใจ เพลงกราวรำสำหรับเยาะเย้ยสนุกสนาน
เพลงเชิดฉานสำหรับพระรามตามกวาง เพลงแผละสำหรับครุฑบิน
เพลงคุกพาทย์สำหรับทศกัณฐ์แสดงอิทธิฤทธิ์ความโหดร้าย หรือสำหรับหนุมานแผลงอิทธิฤทธิ์ หาวเป็นดาวเป็นเดือน เป็นต้น นอกจากนั้นยังหมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยา สมมุติที่แลไม่เห็นตัวตน เช่น เพลงสาธุการ เพลงตระเชิญ เพลงตระนิมิต เพลงกระบองกัน สำหรับเชิญเทพยดาให้เสด็จมา แต่ไม่มีใครมองเห็นการเสด็จมาของเทพยดาในเวลานั้น เช่น บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีและนาฎศิลป์ และยังเป็นเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาที่เป็นอดีต ไม่ใช่ปัจจุบัน เช่น เมื่อพระเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรีจบลง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงทยอยโอด คือ บรรเลงเพลงโอดกับเพลงทยอยสลับกัน เพื่อประกอบกิริยาคร่ำครวญ โศกเศร้า เสียใจของพระนางมัทรี ตัวเอกของกัณฑ์นี้ เมื่อทราบว่าพระเวสสันดรได้บริจาค 2 กุมาร กัณหาและชาลีให้แก่พราหมณ์ชูชกไป พระได้เทศน์เรื่องนี้จนจบลงแล้ว แต่ปี่พาทย์เพิ่งจะบรรเลงเพลงประกอบเรื่อง อย่างนี้ถือว่าเป็นการบรรเลงประกอบกิริยาสมมุติที่เป็นอดีต เป็นต้น เพลงหน้าพาทย์นิยมบรรเลงดนตรีเพียงอย่างเดียว ไม่มีร้อง
เพลงหน้าพาทย์แบ่งตามฐานันดร แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. หน้าพาทย์ธรรมดา ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอารมณ์ของตัวละครที่เป็นสามัญชน เป็นเพลงหน้าพาทย์ไม่บังคับความยาว การจะหยุด ลงจบ หรือเปลี่ยนเพลง ผู้บรรเลงจะต้องดูท่ารำของตัวละครเป็นหลัก เพลงหน้าพาทย์ชนิดนี้โดยมากใช้กับการแสดงลิเกหรือละคร เช่น เพลงเสมอ เพลงเชิด เพลงรัว เพลงโอด
๒. หน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อารมณ์ของตัวละครผู้สูงศักดิ์หรือเทพเจ้าต่างๆ เป็นเพลงหน้าพาทย์ประเภทบังคับความยาว ผู้รำจะต้องยืดทำนองและจังหวะของเพลงเป็นหลักสำคัญ จะตัดให้สั้นหรือเติมให้ยาวตามใจชอบไม่ได้ โดยมากใช้กับการแสดงโขน ละคร และใช้ในพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีปละนาฎศิลป์ เช่น เพลงตระนอน เพลงกระบองกัน เพลงตระบรรทมสินธุ์ เพลงบาทสกุณี เพลงองค์พระพิราพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงอนงค์พระพิราพ ถือกันว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงสุดในบรรดาเพลงหน้าพาทย์ทั้งหลาย
เพลงหน้าพาทย์แบ่งตามหน้าที่การนำไปใช้ประกอบการแสดงของตัวละคร แบ่งได้ ๗ ลักษณะ คือ
๑. เพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาไปมา ได้แก่
เพลงเสมอ ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางระยะใกล้ ไปช้าๆ ไม่รีบร้อน
เพลงเชิด ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางระยะไกลไปมาอย่างรีบร้อน
เพลงโคมเวียน ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางในอากาศของเทวดาและนางฟ้า
เพลงแผละ ใช้ประกอบกิริยาการไปมาของสัตว์มีปีก เช่น นก ครุฑ
เพลงชุบ ใช้ประกอบกิริยาไปมาของตัวละครศักดิ์ต่ำ เช่น นางกำนัล
๒. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ ได้แก่
เพลงกราวนอก สำหรับการยกทัพของมนุษย์ ลิง
เพลงกราวใน สำหรับการยกทัพของยักษ์
๓. เพลงหน้าพาทย์ประกอบความสนุกสนานร่าเริง ได้แก่
เพลงกราวรำ สำหรับกิริยาเยาะเย้ย
เพลงสีนวล เพลงช้า เพลงเร็ว สำหรับแสดงความรื่นเริง
เพลงฉุยฉาย แม่ศรี สำหรับแสดงความภูมิใจในความงาม
๔. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารย์ ได้แก่
เพลงตระนิมิตร สำหรับการแปลงกาย ชุบคนตายให้ฟื้น
เพลงคุกพาทย์ สำหรับการแสดงอิทธิฤทธิ์ หรือเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัว
เพลงรัว ใช้ทั่วไปในการสำแดงเดช หรือแสดงปรากฎการณ์โดยฉับพลัน
๕. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการต่อสู้และและติดตาม ได้แก่
เพลงเชิดนอก สำหรับการต่อสู้หรือการไล่ติดตามของตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น หนุมานไล่จับนางสุพรรณมัจฉา หนุมานไล่จับนางเบญกาย
เพลงเชิดฉาน สำหรับตัวละครที่เป็นมนุษย์ไล่ตามสัตว์ เช่น พระรามตามกวาง
เพลงเชิดกลอง สำหรับการต่อสู้ การรุกไล่ฆ่าฟันกันโดยทั่วไป
เพลงเชิดฉิ่ง ใช้ประกอบการรำก่อนที่จะใช้อาวุธสำคัญหรือก่อนกระทำกิจสำคัญ
๖. เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอารมณ์ทั่วไป ได้แก่
เพลงกล่อม สำหรับการขับกล่อมเพื่อการนอนหลับ
เพลงโลม สำหรับการเข้าพระเข้านาง การเล้าโลมด้วยความรัก
เพลงโอด สำหรับการร้องไห้
เพลงทยอย สำหรับอารมณ์เสียใจ เศร้าใจขณะที่เคลื่อนที่ไปด้วย เช่น เดินพลางร้องไห้พลาง
๗. เพลงหน้าพาทย์เบ็ดเตล็ด ได้แก่
เพลงตระนอน แสดงการนอน
เพลงลงสรง สำหรับการอาบน้ำ
เพลงเซ่นเหล้า สำหรับการกิน การดื่มสุรา
เพลงหน้าพาทย์ทั้ง ๗ ลักษณะ ล้วนเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่นำมาใช้ในการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก ละครและโขนอยู่บ่อยๆ
เพลงหางเครื่อง
เพลงหางเครื่อง คือ เพลงเล็กๆ สั้นๆ แปลกๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงแม่บท (เพลงเถาหรือเพลงสามชั้น) โดยทันทีทันใดหลังจากที่บรรเลงเพลงนั้นจบลงแล้ว บางครั้งเรียกว่า เพลงลูกบท เพราะใช้บรรเลงเพลงต่อจากเพลงแม่บท เพลงหางเครื่องเป็นเพลงในอัตตราจังหวะสองชั้นหรือชั้นเดียว ที่มีท่วงทำนองค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง ให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ละเป็นเพลงที่มีเสียงและสำเนียงเดียวกันกับแม่บทที่บรรเลงนำมาก่อน เช่น บรรเลงเพลงแขกมอญบางขุนพรหม (เถา) จบแล้ว บรรเลงต่อท้ายด้วยเพลงมอญมอบเรืออัตราจังหวะสองชั้น เพลงมอญมอบเรือ (สองชั้น) ก็เรียกว่า เพลงหางเครื่อง หรือบรรเลงเพลงเขมรไทรโยค (สามชั้น) จบแล้ว บรรเลงต่อท้ายด้วยเพลงมยุราภิรมย์ หรือระบำลพบุรี
การบรรเลงเพลงหางเครื่องจะจบด้วยการออกลูกหมดเสมอ และนิยมบรรเลงเฉพาะดนตรีอย่างเดียว ไม่มีร้อง๓. เพลงประกอบการรำ คือ เพลงร้องตามบทร้อง ให้ผู้รำได้รำตามบทหรือเนื้อร้องส่วนมากจะเป็นเพลง สองชั้นเพื่อให้เหมาะกับการรำไม่ช้าไปไม่เร็วไป นอกจากนั้น ก็ยังใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง กิริยาอาการ ของผู้แสดงอีกด้วยเพลงไทย ที่ใช้ขับร้องและบรรเลงในปัจจุบันนี้ มีทั้งเพลงเก่าสมัยโบราณ เพลงที่ดัดแปลงจากของเก่า และเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ แยกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะและวิธีใช้ได้หลายประเภท ได้แก่เพลงตับ หมายถึง เพลงที่บรรเลงเป็นเรื่อง มีแขนงย่อยแบ่งออกเป็น ตับเรื่อง และตับเพลง
๑. ตับเรื่อง หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังแล้วรู้เรื่องโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนทำนองเพลงจะเป็นคนละอัตรา คนละประเภท หรือหมายถึง เพลงที่ร้องและบรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครที่เป็นเรื่อง เป็นชุด หรือเป็นตอน ตัวอย่างของเพลงตับเรื่อง เช่น ตับนางลอย ตับพระลอ(ตับเจริญศรี)
และตับนางซินเดอริลลา
ตับนางลอย ได้แก่เพลง ยานี เชิดฉิ่ง แขกต่อยหม้อ โล้ ช้าปี่ หรุ่ม ร่าย เต่าเห่ ตะลุ่มโปง พ้อ ขวัญอ่อน กล่อมพญา
พราหมณ์เก็บหัวแหวน แขกบรเทศ เชิดนอก
ตับพระลอ(ตับเจริญศรี) ได้แก่เพลง เกริ่น ลาวเล็กตัดสร้อย ลาวเล่นน้ำ สาวกระตุกกี่ กระแตเล็ก ดอกไม้เหนือ ลาวเฉียง ลาวครวญ ลาวกระแช
ตับนางซินเดอริลลา ได้แก่เพลงวิลันดาโอด ฝรั่งจรกา ครอบจักรวาล ฝรั่งรำเท้า เวสสุกรรม หงส์ทอง

๒. ตับเพลง หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลง จะต้องมีสำนวนทำนองสอดคล้องต้องกัน คือ มีเสียงขึ้นต้นเพลงคล้ายๆ กัน คือ สำเนียงคล้ายๆ กัน เป็นเพลงในอัตราจังหวะเดียวกัน เช่น เป็นสองชั้นเหมือนกัน หรือสามชั้นเหมือนกัน ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร เรื่องเดียวกันหรือไม่ ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างตับเพลง เช่น ตับลมพัดชายเขา (สามชั้น) ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น) และตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น)
ตับลมพัดชายเขา (สามชั้น) ได้แก่เพลง ลมพัดชายเขา แขกมอญบางช้าง ลมหวน เหราเล่นน้ำ
ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น) ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง จระเข้หางยาว ตวงพระธาตุ นกขมิ้น
ตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น) ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง สามเส้า ตวงพระธาตุ นกขมิ้น ธรณีร้องไห้
เพลงภาษาและการออกภาษา
เพลงภาษา หมายถึง เพลงไทยที่มีชื่อขึ้นต้นเป็นชื่อของชาติอื่น ภาษาอื่น เช่น เพลงจีนขิมเล็ก เพลงเขมรพายเรือ เพลงมอญรำดาบ เพลงมอญรำดาบ เพลงพม่ารำขวาน เพลงแขกยิงนก เพลงฝั่งรำเท้า เป็นต้น เพลงภาษาเป็นเพลงที่นักดนตรีไทยได้แต่งขึ้นเอง โดยเลียนสำเนียงภาษาต่างๆ เหล่านั้น เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้นคล้ายๆ กับเพลงหางเครื่อง ต่างกันที่ว่าเพลงหางเครื่องนิยมบรรเลงต่อท้าย เพลงแม่บทที่บรรเลงนำมาก่อนเพียง ๑ เพลงหรือ ๒ เพลงเท่านั้น และต้องเป็นเพลงที่มีเสียงหรือสำเนียง เดียวกันกับเพลงแม่บท ส่วนเพลงภาษาบางทีบรรเลงติดต่อกัน ไปหลายๆ ภาษา หรือที่เรียกว่า "ออกภาษา" หรือ "ออกสิบสองภาษา" วิธีออกภาษาตามระเบียบแบบแผนวิธีการบรรเลงเพลงภาษา ที่นิยมใ้ช้ บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีหลักอยู่ว่า ต้องออก ๔ ภาษาแรก คือ จีน เขมร ตลุง พม่า แล้วจึงออกภาษาอื่นๆ ต่อไป ซึ่งสมัยก่อนคงจะมีถึง ๑๒ ภาษา จึงมักนิยมเรียกกันติดปากว่า "ออกสิบสองภาษา"
การบรรเลงเพลงภาษาและออกภาษานี้ เป็นที่นิยมกันมาก บางทีบรรเลงเพลงสามชั้นสำเนียงแขก ก็ออกภาษาแขกต่อท้าย บางทีก็นำเพลงภาษามาบรรเลง ๒-๓ เพลง ติดต่อกัน บางทีก็นำเพลงภาษาไปใช้ ในละครพันทาง บางครั้งก็ใช้สำหรับวงปี่พาทย์นางหงส์ ที่บรรเลงในงานศพเพื่อเป็นการผ่อนคลายความ
เศร้าโศก
เพลงออกภษาที่ใช้บรรเลงกันมาแต่เดิม ใช้บรรเลงเฉพาะดนตรีล้วนๆ ไม่มีร้อง ในปัจจุบัน บางครั้ง ได้มีการนำเอาเนื้อร้องเข้าประกอบเพลงภาษาด้วย เพื่อเป็นการสร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลินแก่ผู้ชม และผู้ฟังได้อีกแบบหนึ่ง
เพลงลูกหมด
เพลงลูกหมด เป็นเพลงเล็กๆ สั้นๆ มัจังหวะเร็ว เทียบเท่าเพลงชั้นเดียว สำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่างๆ เพื่อแสดงว่าจบเพลงหรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า"ออกลูกหมด"การบรรเลงเพลงลูกหมดหรือการออกลูกหมด ี้ นอกจากจะมีความหมายว่า เพลงได้จบลงแล้ว ยังเป็นการให้เสียงกับคนร้อง ช่วยให้คนร้อง ร้องได้ตรงกับระดับ เสียง ของวงดนตรีที่บรรเลง คนร้องที่มีความสามารถ เมื่อดนตรีบรรเลงเพลงลูกหมดจบลงแล้ว ก็ร้องเพลง ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอนักดนตรีให้เสียง เพลงลูกหมดมักจะใช้บรรเลงต่อจากเพลงสามชั้น เพลงเถา และเพลงหางเครื่อง แล้วแต่กรณีและไม่มีร้องเพลงเดี่ยว
หมายถึง เพลงประเภทที่กำหนดให้เครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งบรรเลงเพลงเครื่องเดียว เป็นการแสดงความสามารถในการบรรเลงของนักดนตรีแต่ละคน มักจะเลือกเอาเพลงที่มีเสียงครบ ๗ เสียงเพราะเพลงไทยบางเพลงมีเพียง ๕ เสียง จึงไม่เหมาะกับการบรรเลงเดี่ยว เพลงเดี่ยวหรือการเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีมีหลายแบบ คือ
การเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีชิ้นเดียวตลอดเพลง เช่น ซออู้ ใช้เพลงแขกมอญ หรือเพลงกราวใน เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มเสียงใหญ่ ซอด้วง ใช้เพลงเชิดนอก เพลงพญาโศกฯ เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เสียงแหลมเล็ก นอกจากนั้น เพลงเดี่ยวที่นิยมกันทั่วไป ได้แก่ แขกมอญ สารถี พญาโศก ลาวแพน นกขมิ้น เชิดนอก กราวใน ทะยอย อาหนู อาเฮีย แป๊ะ
การะเวก ม้าย่อง นารายณ์แปลงรูป ดอกไม้ไทร ต่อยรูป
การเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในวงดนตรี มักจะเป็นวงปี่พาทย์ และเริ่มด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม ตามลำดับ ส่วนจะบรรเลงเพลงใดก่อน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของนักดนตรีที่ร่วมวงกันอยู่ รวมทั้งสถานการณ์ในขณะนั้นเป็นส่วนประกอบด้วย
เครื่องดนตรีอื่นๆ ที่บรรเลงร่วมกับการเดี่ยว ได้แก่ กลองสองหน้าและฉิ่ง

อ้างอิง
http://www2.udru.ac.th/~musicnote/dontreethai_4.html