วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขนมไทยชื่อฝอยทอง

ขนมไทยชื่อฝอยทอง



ฝอยทองการนำขนมมาใช้ในงานมงคล มักนิยมเลือกในความหมายที่ดี อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เพราะเชื่อว่าทองเป็นสิ่งที่ดี นำมาซึ่งความร่ำรวย ความเจริญ เมื่อนำขนมที่มีคำว่าทองอยู่ด้วยไปมอบให้กับผู้ใดก็เท่ากับว่าได้มอบความร่ำรวยมั่งคั่งให้แก่ผู้นั้น ก่อให้เกิดสิ่งที่มีค่าประดุจเดียวกับทองคำ ในที่นี้จึงได้นำการทำขนมมงคลและมีชื่อเป็นทอง ได้แก่ ฝอยทอง มานำเสนอดังขั้นตอนต่อไปนี้ส่วนผสมไข่เป็ด 9 ฟอง
น้ำตาลทราย 5 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 3 ถ้วย
น้ำค้างไข่ 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีเตรียมน้ำค้างไข่1. น้ำค้างไข่ หรือน้ำต้อย คือน้ำหล่อเลี้ยงไข่แดง ช่วยประคองไม่ให้ไข่แดงติดเปลือก จะเกิดขึ้นเมื่อไข่ถูกเก็บไว้สัก 1-2 วัน ิวิธีแยกเอาน้ำค้างไข่ ทำได้โดยวางไข่ให้ส่วนแหลมอยู่ด้านล่างเพื่อให้น้ำค้างไข่ที่เกิดขึ้นไหลลงมาอยู่ส่วนแหลม เวลาตอกไข่ให้ตอกส่วนป้านของไข่โดยรอบ ค่อย ๆ เทไข่แดงและไข่ขาวออกจากเปลือก น้ำค้างไข่จะค้างอยู่ในเปลือก ให้เทแยกใส่ชามไว้ต่างหาก
2. หากทำฝอยทองโดยใช้ไข่แดงล้วน ๆ ไข่แดงจะข้นมาก และไม่สามารถไหลออกจากกรวยที่มีรูเล็ก ๆ ได้ น้ำค้างไข่จะช่วยลดความเข้มข้นของไข่แดงและยังช่วยให้ไหลลื่นจากกรวยได้ง่ายด้วย
3. วิธีที่ง่ายกว่านี้ในการแยกน้ำค้างไข่ก็คือ ตอกไข่ทั้งหมดใส่ชามไว้ นำไข่ทั้งชามไปเทกรองด้วยกระชอน ส่วนที่เป็นน้ำค้างไข่จะใสและไหลผ่านกระชอนลงมาเอง
วิธีทำ1. ต่อยไข่ใส่ชาม แยกไข่ขาวออกจากไข่แดง รีดเอาเยื่อออกให้หมด ผสมน้ำค้างไข่ตามอัตราส่วนไข่ 9 ฟองต่อน้ำค้างไข่ 3 ช้อนโต๊ะ
2. ใส่น้ำตาลและน้ำลอยดอกมะลิลงในกระทะตั้งไฟ คนให้น้ำตาลละลาย พอเดือดปรับไฟให้แรงเฉพาะตรงกลางกระทะ แล้วเริ่มโรยฝอยทองได้
3. ใส่ไข่แดงที่ผสมน้ำค้างไข่และคนเข้ากันดีแล้วลงในกรวยสำหรับโรยไข่ โรยลงในน้ำเชื่อมแบบวนรอบกระทะประมาณ 20 หรือ 30 รอบ แล้วแต่ว่าต้องการขนมแพเล็กหรือแพใหญ่ รอให้เดือด
4. ใช้ส้อมตักขนมขึ้นด้วยการตักจากริมกระทะด้านหนึ่งไปฝั่งตรงข้ามแล้วจึงยกขึ้น
5. ส่ายขนมในน้ำเชื่อมเพื่อให้เส้นฝอยทองเรียบแล้วพับทบให้สวยงามเรียงใส่จาน

วงจรไฟฟ้า i

วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยัง แหล่งกำเนิดเดิม

วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่

2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด สวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย

การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ

1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม

1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร

2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด

3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน

2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน

1. กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน

2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด

3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร

3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้ 2 ลักษณะดังนี้

3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง

3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม

เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติ ของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน

ความแตกต่างของวงจรเปิด-วงจรปิด

1. วงจรเปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ซึ่งเป็นผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่สามารถจ่ายพลังงานออกมาได้ สาเหตุของวงจรเปิดอาจเกิดจากสายหลุด สายขาด สายหลวม สวิตซ์ไม่ต่อวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น

2. วงจรปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร ทำให้โหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรนั้นๆ ทำงาน

ความหมายทางไฟฟ้า

1. แรงดันไฟฟ้า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า หมายถึงแรงที่ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานของวงจรไปได้ ใช้แทนด้วยตัว E มีหน่วยวัดเป็น โวลท์ (V)

2. กระแสไฟฟ้า หมายถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนอิสระจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง จะไหลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานของวงจร ใช้แทนด้วยตัว I มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A)

3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงตัวที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ซึ่ง อยู่ในรูปของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น แผ่นลวดความร้อนของเตารีด หม้อหุงข้าว หลอดไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ใช้แทนด้วยตัว R มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม (W )

4. กำลังงานไฟฟ้า หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัตราการทำงาน ได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัว P มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W)

5. พลังงานไฟฟ้า หมายถึงกำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต ใช้แทนด้วยตัว W

6. ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าช็อต หมายถึงการที่ไฟฟ้าไหลผ่านจากสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดใดๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด และมาสัมผัสกันจึงมีความร้อนสูง มีประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ถ้าบริเวณนั้นมีวัสดุไวไฟ

7. ไฟฟ้าดูด หมายถึงการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแส เวลาและเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

8. ไฟฟ้ารั่ว หมายถึงสายไฟฟ้าเส้นที่มีไฟจะไหลไปสู่ส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้าไม่มีสายดินก็จะทำให้ได้รับอันตรายแต่ถ้ามีสายดินก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่นั้นไหลลงดินแทน

9. ไฟฟ้าเกิน หมายถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้ เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

 

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์


ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 จารึกต่างๆที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487 – 1511)ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่ขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรกๆคงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 – 1544)ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
• พนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิม ซึ่งปรากฏหลักฐานตามศิลาจารึกที่ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ
• องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 34 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผุ้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤาษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย
• ปราสาทประธาน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตรสูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17 ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวะลึงค์เท่านั้น ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตาลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอา๕รสองหลัง ก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่าบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ก่อสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18
ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่นพระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) พระนารายณ์บรรทมสินธุ์อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระรามในเรื่องรามเกียรติ์ หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤาษีเป็นต้น
• กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ต่อมาได้ดำเนินการบูรณะตั้งปี พ.ศ. 2514 จนเสร็จสมบูรณ์ มีการพัฒนาและปรับปรุงดำเนินการเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2531
• ศาสนสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ อาจเป็นเพราะภูเขามีความสูงไม่มากนักและปากภูเขาไฟยังเป็นแอ่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย ประการสำคัญคือความเชื่อของคนพื้นถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นับถืออำนาจเหนือธรรมชาติ เชื่อว่าในธรรมชาติมีวิญญาณที่สามารถดลบันดาลให้เกิดสิ่งที่ดีและไม่ดีได้แก่มนุษย์ได้ จึงมีการนับถือภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีวิตในอดีต นอกจากนี้ การสร้างปราสาทบนภูเขายังพ้องกับคตความเชื่อในศาสนาฮินดูที่เปรียบปราสาทหินดั่งเทวาลัยของเทพเจ้าบนยอดเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชุมชนที่เขาพนมรุ้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เพราะนอกจากมีบารายหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งใช้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของปากปล่องภูเขาไฟเดิมเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่บนเขาอยู่แล้ว ที่เชิงเขามีบารายอีก 2 สระ คือสระน้ำหนองบัวบารายที่เชิงเขาพนมรุ้ง และสระน้ำโคกเมืองใกล้ปราสาทเมืองต่ำ สระน้ำบนพื้นราบเบื้องล่างภูพนมรุ้งนี้รับน้ำมาจากธารน้ำที่ไหลมาจากบนเขา นอกจากนี้ยังมีกุฏิฤาษีอยู่ 2 หลัง เป็นอโรคยาศาลที่รักษาพยาบาลของชุมชนอยู่เชิงเขาด้วย บริเวณที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้งอาจเคยเป็นที่ตั้งของศาสนพื้นถิ่นมาก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นเป็นปราสาท ที่มีความใหญ่โตงดงาม สมกับเป็น กมรเตงชคตวฺนํรุง ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปราสาทพนมรุ้ง อันหมายถึงองค์พระศิวะในศาสนาฮินดูที่กษัตริย์ขอมทรงนับถือ การเปลี่ยนสถานที่เคารพพื้นถิ่นให้เป็นปราสาทกินตามแบบคติขอม น่าจะเกี่ยวเนื่องกับ การเปลี่ยนลักษณะการเมืองการปกครอง ที่ผู้นำท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์ขอมโดยใช้ระบบความเชื่อมทางศาสนา วัฒนธรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
• จะเห็นได้ว่าปราสาทพนมรุ้งไม่เพียงแต่จะมีความโดดเด่นในด้านการวางผังที่สัมพันธ์กับภูมิประเทศแล้ว การตกแต่งด้วยภาพจำหลักหินที่ทับหลังและหน้าบันยังเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของปราสาทหินสีชมพูแห่งนี้ นอกจากงดงามด้วยฝีมือช่างแล้ว ยังเผยให้เราได้รู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่บอกถึงการเป็นเทวสถานของพระศิวะ ภาพพิธีกรรมต่างๆและภาพเรื่องราวจากมหากาพย์ของอินเดียคือรามายณะและมหาภารตะ เป็นต้น
• ปราสาทพนมรุ้งได้รับการบูรณะด้วยกรรมวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งเป็นการบูรณะโบราณสถานโดยทำสัญลักษณ์ของชิ้นส่วนต่างๆก่อนจะรื้ออกเพื่อเสริมรากฐาน และนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบขึ้นใหม่ตามเดิมซึ่งวิธีการเช่นนี้ใช้กับปราสาทหินหลายแห่ง เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน เป็นต้น
• ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เมษายน) ของทุกปีมีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี โดยในวันนี้พระอาทิตย์แรกแห่งอรุณจะสาดส่องทะลุผ่านประตูทั้ง 15 ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน
สถานที่ตั้ง
• ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาทำการ 06.00 น. – 18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
การเดินทาง
• จากอำเภอนางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงสามแยกโรงเรียนบ้านตะโกเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ตรงไปราว 6 กิโลเมตร ถึงบ้านตาเป๊ก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2221 อีก 6 กิโลเมตร
• รถประจำทาง
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ – เขาพนมรุ้ง ลงที่เชิงเขาแล้วต่อรถสองแถวขึ้นปราสาท
รถสายบุรีรัมย์ – นางรอง ลงสถานีนางรองแล้วต่อรถสองแถว

อ้างอิง
http://www.oceansmile.com/E/Buriram/Phanomrung.htm

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรักจังหวัดกาญจนบุรี

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก


ข้อมูลสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เนื่องจากการเกณฑ์ทหารสัมพันธมิตรมาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ ผ่านกาญจนบุรีไปเมียนมาร์ของกองทัพญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเหตุให้เชลยศึกพันธมิตรเสียชีวิตที่กาญจนบุรีเป็นจำนวนมาก สุสานแห่งนี้บรรจุกระดูกของทหารสัมพันธมิตร จำนวน 6,982 หลุม สุสานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟกาญจนบุรี ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร ในเขตบ้านดอนรัก ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภายในมีการตกแต่งสวยงาม ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมจำนวนมากเพราะเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกาญจนบุรีเพียง 300 เมตร เท่านั้น

แหล่งที่มา
www.google.com

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

แถบวิดีโอ

powered by

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง




สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เปรียบประดุจศูนย์บัญชาการการทำงานของร่างกาย การรู้จักบำรุงดูแลรักษาสมองให้ปฏิบัติงานได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเรากลับมีพฤติกรรมที่ทำร้ายสมองของตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมทำร้ายสมอง

1. ไม่ทานอาหารเช้า นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่ เป็นสา-เหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมล-ภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนแบบนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง
ทั้งสิบอย่างนี้คัดมาฝากกันจาก “ต้นคิด” จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสมองของตัวเอง.แหล่งที่มาจาก www.google.com

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

แถบวิดีโอ

powered by

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง




สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เปรียบประดุจศูนย์บัญชาการการทำงานของร่างกาย การรู้จักบำรุงดูแลรักษาสมองให้ปฏิบัติงานได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเรากลับมีพฤติกรรมที่ทำร้ายสมองของตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมทำร้ายสมอง

1. ไม่ทานอาหารเช้า นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่ เป็นสา-เหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมล-ภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนแบบนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง
ทั้งสิบอย่างนี้คัดมาฝากกันจาก “ต้นคิด” จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสมองของตัวเอง.แหล่งที่มาจาก www.google.com

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง

แถบวิดีโอ

powered by

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สาระดีๆ หลีกเลี่ยง 10 นิสัย ทำร้ายสมอง




สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เปรียบประดุจศูนย์บัญชาการการทำงานของร่างกาย การรู้จักบำรุงดูแลรักษาสมองให้ปฏิบัติงานได้ดี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเรากลับมีพฤติกรรมที่ทำร้ายสมองของตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ลองมาดูกันว่าอะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมทำร้ายสมอง

1. ไม่ทานอาหารเช้า นอกจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแล้วยังเป็นเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. สูบบุหรี่ เป็นสา-เหตุให้สมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป ของหวานจะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมล-ภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน ถ้าอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนแบบนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองไปในตัว

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะกำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะการพูดเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมองนิสัยทำร้ายสมอง
ทั้งสิบอย่างนี้คัดมาฝากกันจาก “ต้นคิด” จดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายสมองของตัวเอง.แหล่งที่มาจาก www.google.com